วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2562

FanSHIPเพื่อนๆ

1นายปรมันต์ เรืองรุ่ง 2 นายกิตติพงศ์ งามวงษ์ 3 นายณัฐวุฒิ พงษ์ณเจริญกุล 4 นายกานต์พงศ์ พูลสวัสดิ 5 นายรัชต อนันต์ทวัน 6 นายสฤริต เสียงดี 7 นายคุนนานนท์ วรพหรม 8 นายภานุพงศ์ พานนิด 9 นายธรีชัย ใจฟู 10 นายพัสกร แย้มเกสร 11นายอนุชิต ขุนกนก 12 นายสรัช สวัสดีแป้น 13 นายณัฐวุฒิ โห้พลอย 14 นายณัฐกฤษ พรมโชติ 15 นายปริญ บุญเลขา 16 นายเทพพิทักษ์ สายชุ่มดี 17 นายนันทพัท นิทินันพักดี 18 นายลพัสกร พะโว้ 19 นายสุวิจัก ขุนทอง 20 นายศตวรรษ งามสมโศรก 21 นางสาวรัตน์ฐาน์อร วิริยะกุล 22 นางสาวศศิธร เนยคำ 23 นางสาวศริวรรณ มณีแก้ว 24 นางสาวภัคธีมา เพชรคอน 25 นางสาวนารีรัต์ ทองอยู่ 26 นางสาวสุฃาดา โอฃารส 27 นางสาวกัลลยารัตน์ วงสุด 28 นางสาวพรนภา ปานิณ 29 นางสาวนรมน เฃื้อกุล 30 นางสาวสเกาวรัตน์ รุ่งเจริญ 31ชวย นางสาวนราพร ชุ่ม
32 นางสาวกรรณิกา คำแหงพล 33 นางสาวณิชากานต์ แสงอ่อน 34 นางสาวณิชาพัช แส่งออ่อน 35 นางสาวตระการตา รุ่งแกง 36 นางสาวสุชาดา แจ้วสกุล

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

HOME

โอเอซิส (วงดนตรี)


บทความนี้เกี่ยวกับวงดนตรีอังกฤษ สำหรับอื่น ๆ ดูที่ โอเอซิส (แก้ความกำกวม)
โอเอซิส
Oasis Liam and Noel.jpg
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดแมนเชสเตอร์, ประเทศอังกฤษ
แนวเพลงร็อกแอนด์โรลร็อก , บริตป็อป
ช่วงปีค.ศ. 1991-2009

อดีตสมาชิกเลียม กัลลาเกอร์
โนล กัลลาเกอร์
พอล "โบนเฮ้ด" อาร์เธอร์
พอล "กวิ๊กซี่" แม็คเกวียน
โทนี แม็คคารอล
อลัน ไว้ท์
เก็ม อาร์เชอร์
แอนดี้ เบลล์
โอเอซิส (อังกฤษOasis) เป็นวงดนตรีร็อคจาก แมนเชสเตอร์ ในปี 1991 ซึ่งสมาชิกบางส่วนมาจากวง The Rain มีสมาชิกดั้งเดิมอันได้แก่ เลียม แกลลาเกอร์ (ร้องนำ), พอล "โบนเฮ้ด" อาร์เธอร์ (กีตาร์), พอล "กวิ๊กซี่" แม็คเกวียน (กีตาร์) และ โทนี่ แม็คคารอล (กลอง) พวกเขาได้ชักชวนพี่ชายของเลียม โนล แกลลาเกอร์ (มือกีตาร์และร้องนำ) เป็นสมาชิกลำดับที่ห้าของวง และวงก็ได้ตัดสินใจไลน์อัพจนถึงเดือนเมษายน 1995
โอเอซิสเซ็นสัญญาเป็นศิลปินกับสังกัดค่ายเพลงอิสระ Creation Records ในปี 1993 และปล่อยสตูดิโออัลบั้มแรกของวง Definitely Maybe (1994) ปีถัดมาทางวงก็ได้ปล่อยสตูดิโออัลบั้มลำดับที่สอง (What's the Story) Morning Glory?(1995) โทนี แม็คคารอล มือกลองของวงลาออกอย่างไม่ทราบสาเหตุและได้แอลัน ไวต์ มือกลองจากวงร็อคอังกฤษ Starclub เข้ามาแทนที่ ท่ามกลางการแข่งขันชิงความเป็นใหญ่ในทำเนียบเพลงชาร์จเพลงกับวงบริตป็อป เบลอ สองพี่น้องตระกูลแกลลาเกอร์ให้ความสำคัญกับหนังสือพิมพ์ที่มีการเขียนข้อพิพาทสำหรับสองพี่น้องและการใช้ชีวิตที่ดูป่าเถื่อน ในปี 1997 โอเอซิสปล่อยสตูดิโออัลบั้มลำดับที่สาม , Be Here Now (1997) นับได้ว่าเป็นอัลบั้มเพลงที่ขายได้รวดเร็วนับตั้งแต่วันปล่อยอัลบั้มในวงการชาร์จเพลงอังกฤษ ควาามนิยมของอัลบั้มนับว่าได้เสียงตอบรับอย่างดีมากนัก แม็คเกวียน และ อาร์เธอร์ได้ลาออกจากจากวง ในปี 1999 และวงก็ได้ปล่อยอัลบั้มสตูดิโอลำดับที่สี่ Standing on the Shoulder of Giants (2000) หลังการลาออกของอาร์เธอร์และแมคเกวียน ได้ถูกแทนที่ด้วย เจม อาเชอร์ มือกีตาร์และฟรอนแมนท์จากวง Heavy Stereo และแอนดี้ เบลล์มือกีตาร์และฟร้อนแมนวง Hurricane No. 1 ซึ่งทั้งคู่ยังมีส่วนช่วยในการทัวร์คอนเสิร์ตโปรโมทอัลบั้มชุดที่ 4 และทำให้อัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จในระดับที่พึงพอใจ อัลบั้มชุดที่ห้าของพวกเขา Heathen Chemistry (2002) โนล แกลลาเกอร์มีการเข้มงวดมากขึ้นโดยสมาชิกทั้งหมดมีส่วนร่วมในการทำอัลบั้มนี้ ในปี 2004 ทางวงได้มือกลองวง The Who แซค สตาร์กี้ แทนที่แอลัน ไวต์และก็ได้วางจำหน่ายอัลบั้มชุดที่หก Don't Belive the Truth (2005) นับได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวาง[1]
หลังจากปล่อยอัลบั้มชุดที่เจ็ด Dig Out Your Soul (2008) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สตาร์กี้มือกลองก็ได้ลาออก และถูกแทนที่ด้วยคริส ชาร็อคส์ ซึ่งนับได้ว่าเป็นการทัวร์คอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายของวง ระหว่างการทัวร์คอนเสิร์ตของสองพี่น้องตระกูลแกลลาเกอร์ก็ทวีความรุนแรงมากขึ้นหลังจากนั้น โนล แกลลาเกอร์ประกาศชี้แจงในเดือนสิงหาคม 2009 ว่าเขาต้องการจะออกจากวงหลังจากทะเลาะกับเลียมในงานเทศกาลดนตรี[2][3][4] โดยวงที่ประกอบไปด้วยสมาชิกที่ยังคงหลงเหลืออยู่นำโดยเลียม แกลลาเกอร์ตัดสินใจที่จะทำงานดนตรีต่อโดยใช้ชื่อวง Beady Eye ก่อนที่จะยุบวงลงในปี ค.ศ. 2014 ,[5] ขณะที่โนล แกลลาเกอร์อยากทำวงดนตรีเพลงแยกออกมากซึ่งต่อมาก็คือ Noel Gallagher's High Flying Birds
โอเอซิสยังติดลำดับที่แปดในชาร์ตซิงเกิ้ลของอังกฤษ และติดลำดับที่แปดของชาร์ตอัลบั้มอังกฤษ และได้ลำดับที่สิบห้าใน NME Awards และลำดับที่เก้าของ Q Awards และลำดับที่สี่ของ MTV Europe Music Awards และลำดับที่หกของ Brit Awards และในปี 2007 ยังได้รางวัลผลงานโดดเด่น และยังได้อัลบั้มที่ดีในช่วงสามสิบปีคัดเลือกโดย BBC Radio 2 อีกทั้งเขายังได้รับการเสนอชิงชื่อจาก รางวัลแกรมมี ถึงสามครั้ง ในปี 2009 วงมียอดขายประมาณ 70 ล้านแผ่นทั่วโลก[6] อีกทั้งวงยังได้รับการระบุในหนังสือกินเนสส์บุ๊คในปี 2010 10 วงดนตรีที่ติดชาร์จท็อปเป็นเวลายาวนาน โดยไม่มีเคยมีมาก่อนสำหรับการติดอันดับ 22 เป็นเวลา 10 สัปดาห์ของอังกฤษ กินเนสส์บุ๊คยังกล่าวว่าเป็นวงดนตรีที่ประสบความสำเร็จในช่วงปี 1995 ถึง 2005 โดยกินเวลาไปถึง 765 สัปดาห์ในการติดท็อป 75 ซิงเกิ้ลและชาร์จอัลบั้ม[7].

ประวัติ


ก่อตั้งวงและยุคเริ่มแรก : 1991 - 1992[แก้]

สมาชิกบางส่วนมาจากวงดนตรี The Rain ซึ่งประกอบไปด้วย พอล แม็คเกวียน (มือเบส / กีตาร์), พอล โบนเฮ้ด อาร์เธอร์ (มือกีตาร์), โทนี่ แม็คคารอล (มือกลอง) และ คริส ฮัตตัน (ร้องนำ) ฮัตตันไม่พอใจ , อาเธอร์สนิทสนมกับเลียม แกลลาเกอร์จึงเอามาแทนที่ โดยเลียมแนะนำว่าชื่อควรจะเปลี่ยนเป็นโอเอซิส การเปลี่ยนแปลงชื่อนี้ได้แรงบันดาลใจจากโปสเตอร์ทัวร์ของวงดนตรี Inspiral Carpets ที่อยู่ในห้องของพี่ชายของเขา หนึ่งในสถานที่ทัวร์คอนเสิร์ตที่โปสเตอร์ระบุไว้คือ โอเอซิส เลซัว เซนเตอร์ ใน สวิทดอน , วิสไชน์[8]
และเป็นการเล่นโชว์ครั้งแรกของโอเอซิสในวันที่ 18 สิงหาคม 1991 ในคลับบอร์ดว็อก ที่แมนเชสเตอร์ เลียมน้องชายของโนล แกลลาเกอร์ ยังเป็นเด็กยกเครื่องดนตรีให้กับวง Inspiral Carperts โนลต้องการดูผลงานการเล่นของน้องชาย โนลและเพื่อนของเขาคิดว่าโอเอซิสยังทำได้ไม่ดี เขาเริ่มคิดท่าทางเป็นไปได้จะอยู่วงดนตรีของน้องเขาเองซึ่งเป็นทางออกที่ดีสำหรับผลงานชุดเพลงของเขาที่เขาแต่งเนื้อเพลงเป็นเวลาหลายปี โนลเข้าวงโอเอซิสและเขาก็ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกในวงให้เป็นนักแต่งเพลงและเป็นหัวหน้าวง และพวกเขาก็เริ่มที่จะแสวงหารายให้กับวง เขาเขียนเพลงมากมายอาร์เธอร์เล่า เมื่อเขาอยู่ในวงเดียวกับพวกเรา เขาเหมือนจรวด ในทันตาเขาเต็มไปด้วยความคิด[9] โอเอซิสภายใต้ โนล แกลลาเกอร์ มีฝีมือดนตรีที่เรียบง่ายกับอาร์เธอร์และแม็คเกวียนพวกเขาต่างเริ่มกันเล่นคอร์ดกีตาร์และบันทึกเสียงเบส แม็คคารอลก็เริ่มศึกษาจังหวะพื้นฐานของโน้ต โอเอซิสสร้างเสียงเพลง ที่เต็มด้วยไปด้วยความซับซ้อนแต่แฝงไปด้วยความสวยงามมากมาย[10]

Definitely Maybe: 1993–1994[แก้]

หลังจากเริ่มแสดงสดมาได้ปีกว่า , พวกเขาก็หมั่นฝึกซ้อมและเริ่มอัดเพลงเดโม่ (ซึ่งต่อมาก็คือเทปเดโม Live Demonstration) และวงก็เงียบพักหายไปช่วงพฤษภาคม 1993 จนพวกเขาถูกอแลน แม็คจีผู้บริหารค่ายเพลง Creation Records โอเอซิสถูกชักชวนให้ไปเล่นในคลับ King Tut's Wah Wah Hut ใน กลาสโกว์ , สก็อตแลนด์ โดยวง Sister Lovers พวกเขายังแบ่งบันไปให้ใช้ห้องอัดของพวกเขาได้ , โอเอซิสพร้อมกับกลุ่มเพื่อน , พวกเขาหาเงินที่จะเช่ารถตู้ได้ที่สามารถเดินทางไปกลาสโกว์ เมื่อเขามาถึง , พวกเขาถูกปฏิเสธหน้าทางเข้าเนื่องจากพวกเขาไม่อยู่ในรายชื่อ และมีรายงานว่าโอเอซิสเกิดทะเลาะที่ไม่ได้เข้าไปข้างใน (ทั้งสองวงรวมทั้ง เอ็มจีได้แถลงการณ์เกี่ยวกับความแข้งแย้งเกี่ยวกับพวกเขาที่ต้องการเข้าไปข้างในคลับ[11] พวกเขาได้เล่นเป็นวงเปิดพวกเขาประทับใจเอ็มจีอย่างมาก โดยเขาอยู่ที่นั่นเพื่อดูวง 18 Wheeler หนึ่งในวงดนตรีของพวกเขา , ในคืนนั้น เอ็มจีรู้สึกประทับใจอย่างมากกับการเล่นโชว์ , โดยเขาเสนอให้ยอมรับข้อตกลง , แต่เขาก็ไม่ได้เซ็นสัญญาจนหลายเดือนต่อมา[12] และมีปัญหากับความปลอดภัยกับข้อตกลงของชาวอเมริกัน เอ็มจี โอเอซิสได้ข้อสรุปด้วยการเซ็นสัญญาเป็นศิลปินกับ โซนี่ ซึ่งต่อมาได้รับการอนุญาตเป็นศิลปินใน Creation Records ในสหราชอาณาจักรในเวลาต่อมา [13] หลังจากนั้นพวกเขาได้ปล่อยแผ่นเสียง White Label [14] เดโม่เพลง Columbia , ผลงานเพลงซิงเกิ้ลแรก Supersonic ถูกวางจำหน่ายในเดือนเมษายน 1994 ติดอันดับที่ 31 ในชาร์จเพลงของสหราชอาณษจักร[15] หลังจากนั้นก็ได้ปล่อยซิงเกิ้ลที่ 2 Shakermaker ประสบความสำเร็จแต่โอเอซิสถูกฟ้องร้องโดย โรเจอร์ คุกส์ , โรเจอร์ กรีนอะเวย์ , บิล เบคเกอร์ , บิลลี่ เดวิดที่มีดนตรีละม้ายคล้ายคลึงกับเพลง I'd Like To Teach The World To Sing จากวงดนตรี The New Seekers[16] โดยโอเอซิสได้จ่ายค่าเสียหายไปจำนวน 500,000 ดอลลาห์ ซิงเกิ้ลที่สามของพวกเขา Live Forever เป็นเพลงแรกของพวกเขาที่ติดหนึ่งในสิบในชาร์จของสหราชอาณาจักร หลังจากที่มีปัญหาในการอัดเพลง , ผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดแรก Definitely Maybe ถูกวางจำหน่ายเมื่อเดือนกันยายน 1994 และขึ้นแท่นอันดับหนึ่งในชาร์จสหราชอาณาจักรและกลายเป็นอัลบั้มเปิดตัวชุดแรกที่ขายได้อย่างรวดเร็วในสหราชอาณาจักร[17]
นับว่าเป็นปีที่มีการแสดงสดและการอัดเพลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมีการใช้ชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟื่อย มีการโทรเข้าหาวงจำนวนมาก พวกเขาได้ทำงานในลอส แองเจอลิสในเดือนกันยายน 1994 และนำไปสู่การแสดงของเลียม แกลลาเกอร์ที่ไม่เหมาะในระหว่างที่เขาเห็นความน่ารังเกียจของผู้ชมชาวอเมริกันและเลียมก็ตีโนลด้วยกลอง[18] เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้โนลเกิดอารมณ์เสียและทำให้เขาลาออกจากวงอย่างชั่วคราวหลังจากนั้นก็โนลก็บินไปยังซานฟรานซิสโก (ซึ่งต่อมาโนลได้นำไปแต่งเป็นเพลง Talk To Night)
CD:https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%AA_(%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5)

สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล

HOME


 (อังกฤษArsenal Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลที่เล่นในพรีเมียร์ลีก จากย่านฮอลโลเวย์ ในกรุงลอนดอน เป็นสโมสรฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งหนึ่งในฟุตบอลอังกฤษ ครองแชมป์ลีกสูงสุดของอังกฤษ 13 ครั้งและเอฟเอคัพ 13 ครั้ง อีกทั้งยังเป็นเจ้าของสถิติผู้เข้าชิงชนะเลิศในเอฟเอคัพมากที่สุด คือ 20 ครั้ง[2] และยังเป็นแชมป์เอฟเอคัพมากที่สุด[3] อาร์เซนอลถือสถิติร่วม โดยอยู่ในลีกสูงสุดของอังกฤษยาวนานที่สุดโดยไม่ตกชั้น และติดอยู่อันดับ 1 ของผลรวมอันดับในลีก ของทั้งศตวรรษที่ 20[4] และเป็นทีมที่ 2 ที่จบการแข่งขันฤดูกาลในลีกสูงสุดของอังกฤษโดยไม่แพ้ทีมไหน (ในฤดูกาล 2003–04) เป็นทีมเดียวที่ไม่แพ้ใครทั้ง 38 นัด
อาร์เซนอลก่อตั้งในปี ค.ศ. 1886 ที่วูลิช โดยกลุ่มคน 15 คน ช่วยกันบริจาคเงินคนละ 6 เพนซ์ เป็นค่าตั้งสโมสร ที่รอยัลโอ๊คผับ (ซึ่งความหมายนี้ได้ปรากฏอยู่ในสัญลักษณ์สโมสรในวาระครบรอบ 125 ปีของการก่อตั้ง[5]) และในปี ค.ศ. 1893 เป็นสโมสรแรกจากลอนดอนใต้ที่ร่วมในฟุตบอลลีก ต่อมาในปี ค.ศ. 1913 สโมสรได้ย้ายมายังลอนดอนเหนือ ย้ายสนามมายังอาร์เซนอลสเตเดียมในไฮบรี ในคริสต์ทศวรรษ 1930 สโมสรครองแชมป์ลีกแชมเปียนชิป 5 สมัยและเอฟเอคัพ 2 สมัย และในยุคหลังสงครามชนะในลีกและเอฟเอคัพทั้งสองถ้วยในฤดูกาล 1970–71 และในคริสต์ทศวรรษ 1990 และคริสต์ทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 ครองสองถ้วยในฤดูกาลเดียว 2 ครั้ง และสามารถเข้าสู่รอบตัดสินในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในปี ค.ศ. 2006 อาร์เซนอลมีทีมคู่ปรับร่วมเมืองในนอร์ทลอนดอน คือ ทอตนัมฮอตสเปอร์ ที่เรียกการแข่งขันว่า นอร์ทลอนดอนดาร์บี อาร์เซนอลเป็นสโมสรฟุตบอลที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 4 ของโลก ในปี ค.ศ. 2012 โดยมีมูลค่า 1.3 พันล้านเหรียญดอลลาร์[6]

ประวัติของสโมสร


ช่วงยุคแรก


สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลเริ่มต้นขึ้น เมื่อกลุ่มคนงานของโรงงานผลิตอาวุธรอยัลอาร์เซนอลในแขวงวูลิช กรุงลอนดอน ก่อตั้งทีมฟุตบอลของตนเองขึ้นมาเมื่อปลายปี ค.ศ. 1886 ในชื่อ ไดอัล สแควร์ การแข่งขันแรกของทีมคือเกมที่สามารถเก็บชัยชนะเหนือทีมอีสเทิร์น วันเดอเรอร์ส 6-0 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1886 หลังจากนั้นไม่นานก็เปลี่ยนชื่อเป็น รอยัลอาร์เซนอล และยังคงแข่งขันในเกมอุ่นเครื่องและรายการท้องถิ่นต่อไป จากนั้นได้ก้าวขึ้นมาเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพแล้วหันมาใช้ชื่อ วูลิชอาร์เซนอลในปี 1891 สโมสรแห่งนี้ได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกเป็นครั้งแรกในปี 1893 ในดิวิชั่น 2 จากนั้นในปี 1904 ก็ได้ก้าวขึ้นมาอยู่ดิวิชั่น 1 เป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตาม ในทางภูมิศาสตร์นั้นจะเห็นว่าสโมสรแห่งนี้ตั้งอยู่โดดเดี่ยวเกินไป ส่งผลกระทบให้จำนวนผู้ชมมีน้อยกว่าสโมสรอื่นจนกระทั่งทีมต้องประสบกับปัญหาทางการเงินอย่างหนักจนนำไปสู่การยุบทีมในปี 1910 เมื่อเฮนรี นอร์ริสได้เข้ามาเทคโอเวอร์[7] นอร์ริสพยายามมองหาแนวทางที่จะย้ายที่ตั้งของสโมสรไปอยู่ที่อื่นจนกระทั่งในปี 1913 หลังจากที่ตกชั้นดิวิชั่น 1 มาอยู่ดิวิชั่น 2 เหมือนเดิมนั้น อาร์เซนอลก็ได้ย้ายไปอยู่ที่อาร์เซนอลสเตเดียมในย่านไฮบิวรี่ บริเวณลอนดอนเหนือ ในปีต่อมา สโมสรได้ตัดสินใจตัดคำว่า "วูลิช" ออกจากชื่อสโมสรจนเหลือเพียง อาร์เซนอล เท่าที่เห็นในปัจจุบัน[8] หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ลีกดิวิชั่น 1 ก็เพิ่มจำนวนทีมเป็น 22 ทีม อาร์เซนอลได้อันดับ 5 ของดิวิชั่น 2 ในปี 1919 แต่ถึงกระนั้นก็ได้รับเลือกให้กลับขึ้นสู่ดิวิชั่น 1 อีกครั้งหนึ่ง[9] และอาร์เซนอลก็ไม่เคยถูกลดชั้นหรือตกชั้นเลยนับตั้งแต่นั้นมา

ช่วงยุคสงครามโลก

ในปี 1925 อาร์เซนอลได้ว่าจ้างให้เฮอร์เบิร์ต แชปแมนเป็นผู้จัดการทีม แชปแมนเคยพาฮัดเดอร์สฟิลด์ทาวน์คว้าแชมป์ลีกมาแล้ว 2 สมัยคือฤดูกาล 1923-24 และ 1924-25 ก่อนที่จะเข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีมอาร์เซนอลนี้ และแชปแมนคือคนแรกที่พาอาร์เซนอลก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความสำเร็จยุคแรก เขาจัดการเปลี่ยนระบบการซ้อมและแทคติคใหม่ทั้งหมดพร้อมทั้งซื้อนักเตะระดับแนวหน้ามาร่วมทีมไม่ว่าจะเป็นอเล็กซ์ เจมส์และคลิฟฟ์ บานติน ทำให้อาร์เซนอลก้าวสู่ความยิ่งใหญ่ในวงการฟุตบอลอังกฤษได้ในช่วงทศวรรษที่ 1930 อาร์เซนอลคว้าแชมป์รายการใหญ่ๆได้เป็นครั้งแรกภายใต้การคุมทีมของแชปแมน โดยสามารถคว้าแชมป์เอฟเอคัพได้ฤดูกาล 1929-30 และแชมป์ลีก 2 สมัยคือฤดูกาล 1930-31 และ 1932-33 นอกจากนั้น แชปแมนยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟใต้ตินที่อยู่ในย่านนั้นคือ Gillespie Road เป็นสถานีรถไฟใต้ดิน "อาร์เซนอล" อันเป็นสถานีรถไฟใต้ดินเพียงแห่งเดียวที่ตั้งชื่อตามสโมสรฟุตบอลโดยเฉพาะ[10]
น่าเสียดายที่แชปแมนเสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคปอดบวมเมื่อต้นปี 1934 แต่หลังจากนั้น โจ ชอว์ และ จอร์จ อัลลิสัน ที่เข้ามารับตำแหน่งก็ประสบความสำเร็จไม่แพ้กัน พวกเขาพาอาร์เซนอลคว้าแชมป์ลีกสูงสุดได้อีก 3 สมัย (ฤดูกาล 1933-34, 1934-35 และ 1937-38) และเอฟเอคัพ 1 สมัย (1935-36) อย่างไรก็ตาม อาร์เซนอลก็เริ่มถดถอยลงเรื่อยๆในช่วงปลายทศวรรษเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 การแข่งขันฟุตบอลอาชีพทุกรายการในอังกฤษต้องยุติลง
หลังจากสงครามสิ้นสุดลง ทอม วิทเทคเกอร์ ผู้สืบทอดตำแหน่งของอัลลิสันได้เข้ามาบริหารทีม อาร์เซนอลจึงกลับมาประสบความสำเร็จได้อีก 2 ครั้งคือฤดูกาล 1947-48 และ 1952-53 ที่ได้แชมป์ลีก และ 1949-50 ที่ได้แชมป์เอฟเอคัพ อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น โชคก็เหมือนจะไม่เข้าข้างอาร์เซนอลเท่าไรนัก สโมสรไม่สามารถดึงดูดความสนใจของนักเตะชุดเดียวกับที่เคยอยู่ในทีมช่วงทศวรรษ 1930 ให้กลับเข้าสู่ทีมได้ ในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ 1960 นั้น อาร์เซนอลกลายเป็นทีมระดับธรรมดาๆที่ไม่สามารถคว้าแชมป์อะไรได้เลย แม้ แต่บิลลี ไรท์ อดีตกัปตันทีมชาติอังกฤษที่ผันตัวเองมาเป็นผู้จัดการทีมนั้นก็ไม่สามารถนำความสำเร็จมาสู่สโมสรได้เลยในช่วงปี 1962-1966 ที่เข้ามาคุมทีม

การเปลี่ยนแปลงของสโมสร

อาร์เซนอลเริ่มกลับมาคว้าแชมป์ได้อีกครั้งหนึ่งหลังจากได้ว่าจ้างให้เบอร์ตี้ มี นักกายภาพบำบัดให้มารับตำแหน่งผู้จัดการทีมในปี 1966 แบบไม่มีใครคาดคิด อาร์เซนอลสามารถเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศฟุตบอลลีกคัพได้ 2 สมัยแต่ก็พลาดแชมป์ทั้งสองครั้ง แต่ก็ยังสามารถคว้าแชมป์อินเตอร์ซิตี้แฟร์สคัพฤดูกาล 1969-70 ซึ่งเป็นถ้วยยุโรปใบแรกในประวัติศาสตร์สโมสร ตามมาด้วยการคว้าดับเบิ้ลแชมป์เป็นครั้งแรก นั่นคือแชมป์ลีกและเอฟเอคัพในฤดูกาล 1970-71 แต่ในทศวรรษต่อมานั้น อาร์เซนอลทำได้แค่เพียงการเข้าไปใกล้ตำแหน่งแชมป์มากที่สุดแต่ก็แทบจะไม่สามารถคว้าแชมป์ได้เลย โดยได้รองแชมป์ลีกในฤดูกาล 1972-73 รองแชมป์เอฟเอคัพในฤดูกาล 1971-72, 1977-78 และ 1979–80 และยังพ่ายแพ้ในเกมยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพรอบชิงชนะเลิศด้วยการดวลจุดโทษอีกด้วย สโมสรประสบความสำเร็จเพียงครั้งเดียวในช่วงนี้ก็คือการคว้าแชมป์เอฟเอคัพในฤดูกาล 1978-79 ได้ด้วยการเอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไปได้ 3-2 ในนาทีสุดท้ายของการแข่งขัน ซึ่งได้รับการกล่าวขวัญกันมากในเรื่องของความคลาสสิกของเกมนี้[11]

เข้าสู่ยุคโค้ช อาร์แซน แวงแกร์

การกลับเข้ามาสู่วงการฟุตบอลอีกครั้งของ จอร์จ แกรแฮม อดีตนักเตะในฐานะผู้จัดการทีมของอาร์เซนอลในปี 1986 ทำให้สโมสรสามารถคว้าแชมป์ได้ 3 สมัย อาร์เซนอลคว้าแชมป์ลีกคัพได้ในฤดูกาล 1986-87 ซึ่งเป็นฤดูกาลแรกที่แกรแฮมเข้ามาคุมทีม จากนั้นก็มาได้แชมป์ลีกในฤดูกาล 1988-89 ด้วยการคว้าแชมป์จากประตูในนาทีสุดท้ายของเกมที่พบกับลิเวอร์พูล จากนั้น อาร์เซนอลภายใต้การคุมทีมของแกรแฮมนั้นก็ได้แชมป์ลีกอีกในปี 1990-91 โดยแพ้ไปเพียงเกมเดียวเท่านั้น และสามารถคว้าแชมป์ดับเบิลแชมป์เอฟเอคัพพร้อมกับฟุตบอลลีกคัพได้ในฤดูกาล 1992-93 และถ้วยยุโรปใบที่ 2 คือยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพในฤดูกาล 1993-94 ได้ อย่างไรก็ตาม ชื่อเสียงของแกรแฮมก็กลายเป็นความ